ข่าวสาร

ย้อนกลับ

น้ำมันไฮดรอลิคใช้ทำอะไร เลือกยังไงให้เหมาะกับการใช้งาน ดั๊กแฮมส์ | Duckhams

||  Duckhams  ||  น้ำมันเครื่องเบนซิน  ||  น้ำมันเครื่องดีเซล  ||  น้ำมันเครื่องมอเตอร์ไซค์  ||  น้ำมันเกียร์  ||  น้ำมันเบรค  ||  น้ำมันไฮดรอลิค  ||  น้ำยาหล่อเย็น  || ตัวแทนจำหน่าย


.

Duckhams สูตรไหนเหมาะกับอะไรบ้าง << คลิ๊ก


สาระควรรู้โดยน้ำมันเครื่อง Duckhams
 - 
น้ำมันไฮดรอลิคมีกี่ประเภท ?
 - แล้วจะเลือกน้ำมันเไฮดรอลิคยี่ห้อไหนดี ?
 - น้ำมันไฮดรอลิคเบอร์ 32 46 กับ 68 ต่างกันอย่างไร ?
 - น้ำมันไฮดรอลิคเบอร์ 32 46 กับ 68 ใช้กับอะไรได้บ้าง ?


 

.

 

น้ำมันไฮดรอลิคใช้ทำอะไร แล้วน้ำมันไฮดรอลิคมีกี่ประเภท

          น้ำมันไฮดรอลิก (หรือที่เรียกว่าน้ำมันหล่อลื่นอุตสาหกรรม) เป็นของไหลที่มีความหนาแน่นคงตัว มีความทนต่อแรงอัดที่มีความดันมากๆ ใช้กับแรงดันสูงๆ เป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดในระบบไฮดรอลิค เพื่อส่งถ่ายกำลัง จากของไหล ไปเป็นกำลังงาน โดยถ่ายทอดพลังงาน จากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่ง เพื่อ ให้ระบบไฮดรอลิคสามารถขับเคลื่อนได้ และในขณะเดียวกันยังให้แรงเป็นเท่าทวีคูณด้วย นิยมใช้ประโยชน์ในทางเครื่องจักรงานอุตสาหกรรม เป็นตัวช่วย ในการหล่อลื่น ช่วยในการเคลื่อนไหว ของอุปกรณ์ ชิ้นส่วนในระบบ ให้สามารถเคลื่อนที่ได้ อย่างคล่องตัว ลดแรงเสียดทาน ของชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่สัมผัสกันในการถ่ายโอนพลังงานภายในเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฮดรอลิก ซึ่งปัจจุบันใช้กันแพร่หลายทั้งในเครื่องจักร อุตสาหกรรม และยานยนต์ต่างๆ รวมถึงงานอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์อื่นๆ เพื่อให้เครื่องจักรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ น้ำมันไฮดรอลิกประกอบไปด้วย น้ำ, น้ำมันปิโตรเลียม และสารเติมแต่งสังเคราะห์อื่นๆ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป เพื่อเพิ่มการปกป้องเครื่องจักรให้สามารทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและมีอายุการทำงานที่ยาวนานขึ้น
          เนื่องจาก น้ำมันไฮดรอลิคมีอยู่หลายประเภท และ ทำงานแตกต่างกันออกไป ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับชนิดของน้ำมันไอดรอลิค เพื่อที่จะนำไปพิจารณาว่าควรเลือกแบบไหนจึงจะเหมาะสมกับการใช้งานได้อย่างถูกต้อง (เช่น เหมาะกับสภาพแวดล้อมแบบใด, ทำงานกับน้ำ ความชื้น, ประสิทธิภาพในการทนไฟ หรือทนแรงดัน) สามารถแบ่งออกป็น 2 ชนิดหลัก ๆ คือ

     น้ำมันปิโตรเลียม : มีความสามารถในการหล่อลื่นได้ดีมาก ต้านทานการสึกกร่อน ต้านทานการเกิดสนิม ต้านทานการเกิดสนิมได้ดี และมีความหนืดสูงซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวซีลได้ดีมาก แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่ น้ำมันไฮดรอลิกทั่วไป (HYDRAULIC AW), น้ำมันเทอร์ไบน์, น้ำมันไฮดรอลิกชนิดพิเศษ (HYDRAULIC HVI), น้ำมันเครื่องเบอร์ SAE 10W หรือ SAE 30
     ข้อดี : นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มีราคาถูก และมีคุณสมบัติที่แตกต่างของน้ำมันไว้ ซึ่งได้แก่ ชนิดของน้ำมันดิบ วิธีการ ระดับการกลั่น และ สารประกอบที่ใช้
     ข้อเสีย : ติดไฟง่าย หากในสภาพแวดล้อมที่ความร้อนสูง ไม่ค่อยทนความร้อน ดังนั้น จึงไม่เหมาะกับงานที่ต้องใช้ไฟ เพราะอาจจะเกิดข้อผิดพลาด เช่น ท่อรั่ว อาจทำให้ติดไฟได้ ยกตัวอย่าง น้ำมันปิโตรเลียมชนิดนี้

     น้ำมันทนไฟ : ใช้กับระบบไฮดรอลิค ที่ทำงานที่อุณหภูมิสูง ๆ โดยเฉพาะ หรือใช้กับสภาพแวดล้อมที่ติดไฟได้ง่าย ที่อาจจะเกิดได้จากไอระเหยของน้ำมัน หรือน้ำมันรั่วไหล สัมผัสกับอุปกรณ์ที่มีความร้อน หรือมีคราบน้ำมันที่ผิวอุปกรณ์ที่ร้อน เป็นต้น ผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีความรู้ในการใช้งานและดูแลรักษา เพราะประสิทธิภาพการกันไฟจะเป็นผลจากสภาพการดูแล แบ่งออกได้ 2 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่
     ประเภทที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ (Synthetic fluids) ซึ่งอยู่ 2 ประเภทคือฟอสเฟตเอสเตอร์ (Phosphate esters) และโพลีเออร์เอสเตอร์ (Polyor esters) ซึ่งเป็นคุณสมบัติของน้ำมันชนิดนี้สามารถใช้ได้ดีในอุณหภูมิสูงๆ โดยไม่ทำให้สารประกอบหายไป และใช้ใด้ดีในระบบที่มีความดันสูงๆ น้ำมันมีค่าความถ่วงจำเพาะที่สูงสุด จึงต้องระวังท่อดูดของปั๊มให้อยู่ในสภาพดี น้ำมันชนิดนี้มีค่าดัชนีความหนืดต่ำอยู่ที่ประมาณ 80 VI จึงควรใช้ในระบบที่มีอุณหภูมิในการทำงานที่คงที่
     ประเภทน้ำมันผสมน้ำ (Water containing fluids) น้ำมันประเภทนี้แบ่งได้ 3 ประเภทคือ 
1. น้ำมันประเภทน้ำผสมกลีซอล : (มีน้ำผสมประมาณ 35-40%) มีสารประกอบจากน้ำที่เป็นยางเหนียวเพื่อทำให้เกิดความหนืด เพื่อเป็นสารต่อต้านการติดไฟ
2. น้ำมันประเภทมีน้ำผสมอยู่น้อยกว่าน้ำมัน : (มีน้ำผสมประมาณ 40%) มีสารประกอบเพื่อช่วยรักษาค่าความหนืดให้คงที่ และเมื่อใช้จริงในระบบอาจเติมน้ำเข้าไปได้อีก
3. น้ำมันประเภทมีน้ำมันผสมอยู่น้อยกว่าน้ำ : สามารถต้านทานการลุกไหม้ได้ดี มีความหนืดต่ำ และมีสมบัติในการหล่อเย็นดีมาก
          น้ำมันปิโตรเลียม และ น้ำมันทนไฟ ซึ่งชนิดน้ำมันปิโตรเลียม จะเหมาะกับการใช้งานกับระบบไฮดรอลิคทั่วไป น้ำมันทนไฟ จะเหมาะกับใช้กับระบบไอดรอลิคที่อุณหภูมิสูง ๆ หรือ สภาพที่อาจจะเกิดการรั่ว หรือน้ำมันระเหยได้

ย้อนกลับ


.

 

การเลือกน้ำมันไฮดรอลิคให้เหมาะสมควรทำอย่างไร เลือกน้ำมันไฮดรอลิคยี่ห้อไหนดี น้ำมันไฮดรอลิคที่ดีมีคุณสมบัติอย่างไร

          โดยทั่วไปแล้วตามความเคยชินของผู้ประกอบการจะซื้อน้ำมันไฮดรอลิกที่เฉพาะเจาะจงจากผู้ผลิตเครื่องจักร แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ว่าเครื่องจักรจะทำงานกับน้ำมันไฮดรอลิกประเภทไหนก็ได้ ดังนั้น เราควรพิจารณาเลือกซื้อน้ำมันไฮดรอลิกให้ถูกต้องตามที่คู่มือเครื่องจักรนั้นๆ กำหนดความต้องการของระบบไว้ เพราะการเลือกใช้น้ำมันที่ถูกประเภทนั้น ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบไฮดรอลิคให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ ทั้งยังรักษาอายุของเครื่องจักรได้ยาวนานขึ้นอีกด้วย
          การเลือกน้ำมันไฮดรอลิกที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยาก แต่ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ เพราะมีปัจจัยที่ต้องพิจารณาหลายอย่างซึ่งจะที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละเครื่องจักรอุตสาหกรรม เพื่อประโยชน์ในการกำหนดค่าใช้จ่าย และตัดสินใจเลือกน้ำมันไฮโดรลิคที่ดีที่สุดให้กับเรา กล่าวคือ
     1. ตรวจสอบมาตรฐานความต้องการขั้นต่ำที่เหมาะสมกับการใช้งานเครื่องจักรอุตสาหกรรม : โดยเฉพาะเครื่องจักรที่กำหนดให้ใช้น้ำมันไฮดรอลิคที่มีคุณสมบัติทนไฟ
     2. เลือกสารปรุงแต่งในน้ำมันไฮดรอลิค (Oil Additive) ที่เหมาะสม : ตรวจสอบคุณสมบัติน้ำมันไฮดรอลิคที่ระบุไว้ข้างขวดให้ตรงกับสิ่งที่ต้องการจะใช้งานจริง เช่น Anti – Ware (AW) ที่มีคุณสมบัติที่ช่วยป้องกันการสึกหรอจากการเสียดสีของชิ้นส่วนเครื่องจักรที่มีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน เป็นต้น
     3. ตรวจสอบดัชนีความเสี่ยง : ให้เตรียมการเผื่อไว้ให้มั่นใจว่าเครื่องจักรในงานอุตสาหรรมที่ทำนั้นอาจมีกรณีที่ผิดปกติจนอาจทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงขึ้นมา ประสิทธิภาพของน้ำมันไฮดรอลิคที่เติมเข้าไปจะสามารถลดความเสี่ยงอันอาจเป็นอันตรายนั้นลงได้
     4. อย่าพิจารณาจากราคาถูกเป็นหลัก : น้ำมันไฮดรอลิคที่มีมาตรฐานที่ไม่สูงเกินเกณฑ์มาตรฐานสากลที่กำหนดไว้ จะส่งผลเสียระยะยาวให้กับเครื่องจักรอุตสาหกรรมให้ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพและเพิ่มโอกาสให้เครื่องจักรเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ
          ปัจจัยในการเลือกน้ำมันไฮดรอลิกให้ถูกต้องกับการใช้งาน อุปกรณ์ เช่น ปัจจัยในเรื่องประเภทของน้ำมันพื้นฐาน (Base Oil), ชนิดของสารปรุงแต่ง (Oil Additive), ความหนืด และจุดที่เป็นขีดจำกัดของน้ำมัน
     1. น้ำมันพื้นฐาน (Base Oil) เป็นประเภทไหน : น้ำมันไฮดรอลิคจะมีน้ำมันพื้นฐานเป็นสารตั้งต้น แบ่งออกเป็น 5 ประเภท (Group I-V) ยิ่งน้ำมัน Group ตัวเลขสูงมากเท่าไหร่ยิ่งหมายถึงความบริสุทธิ์ของน้ำมันสูงมากเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลถึงประสิทธิภาพของน้ำมันจะสูงขึ้นตามไปด้วย
     2. สารปรุงแต่งน้ำมันไฮดรอลิค (Oil Additive) ที่ใช้ : พิจารณาสารปรุงแต่งพิเศษที่จะไปช่วยให้น้ำมันทำงานได้ดีขึ้นนั้น ตรงกับเครื่องจักรที่เราจะใช้ เช่น คุณสมบัติ Anti – Ware (AW), Anti – Foaming, Anti Oxidation, ป้องกันสนิม, Pour Point Depressant, Friction Modifier, Viscosity Index Improver, Cold Flow เป้นต้น
     3. ความหนืดของน้ำมันไฮดรอลิค (Viscosity of Hydraulic Oil) : ความหนืดสูงก็จะมีความหนา ซึ่งจะทำให้ถูกบีบอัดและเคลื่อนตัวได้ยาก ความหนืดต่ำซึ่งจะมีความบางและไหลผ่านระบบได้ง่ายกว่านั่นเอง
     - ความหนืดของของเหลวไฮดรอลิคต่ำเกินไป ฟิล์มน้ำมันที่เคลือบโลหะจะบางเกินไป อาจส่งผลให้โลหะสัมผัสกันโดยตรง เกิดการสึกหรอขึ้นในระบบ เสี่ยงต่อการรั่วไหลภายใน ปั๊มและมอเตอร์สูญเสียกำลัง
     - ความหนืดของของเหลวไฮดรอลิคสูงเกินไป ระบบก็จะต้องใช้หรือเค้นพลังเป็นอย่างมากเพื่อผลักให้เครื่องจักรเคลื่อนไหว ส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรลง กินไฟ และเกิดความร้อนที่ไม่จำเป็น เกิดโพรงอากาศ การปล่อยอากาศได้ไม่ดี และการหล่อลื่นที่ไม่เพียงพอ
               ถ้าเราใช้น้ำมันหล่อลื่นไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดของเครื่องจักร สิ่งที่น่ากลัวคือ มันจะไม่ได้ส่งผลร้ายแรงอะไรให้เราเห็นได้ชัดเจนในทันที แต่จะทำให้อายุการใช้งานเฉลี่ยของส่วนประกอบในเครื่องจักรไฮดรอลิคสั้นลง ซึ่งเป็นส่วนที่จะไม่มีใครสามารถสังเกตเห็นได้นั่นเอง
     - ประสิทธิภาพการทำงานของระบบไฮดรอลิคจะลดลง
     - อายุการใช้งานของส่วนประกอบและอะไหล่เครื่องจักรจะลดลง
     - เครื่องจักรขาดการหล่อลื่นที่เพียงพอ, มีความร้อนสะสมมากเกินไป
     - เกิดการกัดกร่อน ตกตะกอน และเกิดวานิชในน้ำมัน

               นอกจากนั้นแล้ว หากเลือกน้ำมันไฮดรอลิคคุณภาพดีมาใช้ ก็จะมีคุณสมบัติดีๆ ครบถ้วน ทำให้สามารถนำไปใช้งานกับระบบไฮดรอลิคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่มีปัญหาตามมา แล้วคุณสมบัติที่ดีของน้ำมันไฮดรอลิคควรเป็นอย่างไร ขอสรุปสั้นๆ ดังนี้
     1. มีค่าความหนืด ( viscosity ) ที่เหมาะสมต่อการใช้งาน : น้ำมันไฮดรอลิกที่ดีต้องมีค่าความหนืดคงที่แม้ว่าอุณหภูมิในการทำงานจะเปลี่ยนแปลงก็ตาม และควรมีดัชนีความหนืดสูง
     2. การหล่อลื่นระหว่างผิวสัมผัสของอุปกรณ์ต่างๆ : น้ำมันไฮดรอลิกที่ดีจะความหนืดมากพอในระดับที่ป้องกันการสึกหรอได้ดี แต่หากน้ำมันไฮดรอลิคมความหนืดมากเกินไปก็ไม่เป็นผลดีต่อการหล่อลื่น เพราะทำให้การเคลื่อนตัวของน้ำมันไหลไปมาไม่สะดวก
     3. มีจุดข้นแข็ง หรือจุดไหลเทที่อุณหภูมิต่ำ (Pour Point) : น้ำมันไฮดรอลิกที่ดีควรมีจุดข้นแข็งต่ำกว่าอุณหภูมิที่ระบบไฮดรอลิกทำงาน เพื่อป้องกันปัญหากรณีระบบไฮดรอลิกทำงานในที่ที่อุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ซึ่งเรื่องนี้สามารถทดสอบได้ ด้วยเครื่องทดสอบ หาจุดไหลเท ( Pour point analyzer )
     4. การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่สูงไปหรือต่ำ : น้ำมันไฮดรอลิคที่ดีจะไม่เปลี่ยนแปลงคุณภาพถึงแม้ว่าจะต้องเจอกับความร้อนมากแค่ไหนก็ตาม
     5. มีคุณสมบัติของการหล่อลื่น ( Lubricity ) : น้ำมันไฮดรอลิคที่ดีจะต้องไม่กัดกร่อน และไม่ทำปฏิกิริยากับยาง ซีล ปะเก็น และ สี ละไม่ทำปฏิกิริยากับยาง ซีล ปะเก็น และสี
     6. มีความสามารถในการอัดตัวต่ำ : น้ำมันไฮดรอลิคที่ดีจะต้องไม่ยุบตัวตามความดัน
     7. ต้านทานการเกิดสนิม ช่วยป้องกันการกัดกร่อนโลหะ : น้ำมันไฮดรอลิคที่ดีจะต้องไม่มีฤทธิ์ของความเป็นกรดที่อาจทำปฏิกิริยาที่เป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ได้ เพราะชิ้นส่วนต่างๆ ในระบบไฮดรอลิกส่วนใหญ่ล้วนทำด้วยโลหะ
     8. ต้านทานการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ( oxidation stability ) ต้านทานการเกิดฟอง
     9. มีความสามารถในการแยกตัวจากน้ำได้ดี และไม่จับตัวเป็นก้อนหรือยางเหนียว

ย้อนกลับ


.

 

น้ำมันไฮดรอลิคเบอร์ 32 46 กับ 68 ต่างกันอย่างไร

          ในตัวของน้ำมันไฮดรอลิคแต่ละแบรนด์นั้นจะมีตัวเลขที่บ่งบอกถึงค่าของความหนืดที่บ่งบอกความหนืดของน้ำมัน โดยทั่วไปแล้วน้ำมันไฮดรอลิคมีหลายระดับหนืดที่ให้บริการตามความเหมาะสมของแต่ละการใช้งาน ตัวเลขบอกความหนืดมักถูกบ่งบอกในรูปแบบ ISO VG (Viscosity Grade) และมีค่าตั้งแต่ 2 ถึง 1500 ซึ่งจะมีหลักการพิจารณาคร่าวๆ นั้นเราสามารถสังเกตได้จากค่า ISO VG ที่ต่ำจะแสดงว่าน้ำมันมีความหนืดต่ำ ในทางกลับกันหากน้ำมันไฮดรอลิคมีค่า ISO VG ที่สูงก็ย่อมแสดงว่ามีความหนืดสูงขึ้นตามไปด้วย กล่าวคือ
 - น้ำมันไฮดรอลิคเบอร์ 32 ถือว่ามีความหนืดอยู่ในระดับต่ำ (น้อยกว่า)
 - น้ำมันไฮดรอลิคเบอร์ 46 ถือว่ามีความหนืดอยู่ในระดับปานกลาง
 - น้ำมันไฮดรอลิคเบอร์ 68 ถือว่ามีความหนืดสูง (มากกว่า)
     และนี่คือหลักการเบื้องต้นที่เราใช้ในการเลือกน้ำมันไฮดรอลิคเบอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งาน เพราะน้ำมันที่ถูกต้องจะช่วยให้ระบบไฮดรอลิคทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยลดการสะสมของตะกอนที่อาจเกิดขึ้นในระบบไฮดรอลิคนั่นเองล่ะครับ

ย้อนกลับ


.

 

น้ำมันไฮดรอลิคเบอร์ 32 46 กับ 68 ใช้กับอะไรได้บ้าง

     เบื้องต้น เราได้พูดถึงหลักการคร่าวๆ ของการพิจารณาหมายเลขที่กำกับไว้ในถังน้ำมันไฮดรอลิกส์ไปคร่าวๆ แล้ว หลังจากนี้เราจะมาพิจารณากันต่อไปว่าแต่ละเบอร์เหมาะสมกับเครื่องจักรประเภทไหนอย่างไรบ้าง ขอสรุปคร่าวๆ ดังนี้
     1. น้ำมันไฮดรอลิคเบอร์ 32 เหมาะกับใช้ในระบบไฮดรอลิคที่มีการทำงานที่รวดเร็ว เช่น ในการเคลื่อนที่เครื่องจักร อุตสาหกรรมการผลิต หรืออุตสาหกรรมทั่วไป
     2. น้ำมันไฮดรอลิคเบอร์ 46 เหมาะกับใช้ในระบบไฮดรอลิคที่มีการทำงานปานกลาง อาทิเช่น ในระบบลำเลียงท่อน้ำมัน, เครื่องจักรอุตสาหกรรม, ระบบการทำงานทั่วไป
     3. น้ำมันไฮดรอลิคเบอร์ 68 เหมาะกับใช้ในระบบไฮดรอลิคที่มีการทำงานที่ช้าลง เช่น ในการยกสินค้าหนัก, ระบบสต็อกครั้งๆ, หรือในการทำงานทั่วไปที่ต้องการความหนืดสูง

ย้อนกลับ


.

 

Duckhams สูตรไหนเหมาะกับอะไรบ้าง

 

   ZIRCON Z32 ANTI-WEAR
   น้ำมันไฮดรอลิค Duckhams
   เซอร์คอน แซต Z32 แอนตี้แวร์

 


   ZIRCON Z46 ANTI-WEAR
   น้ำมันไฮดรอลิค Duckhams
   เซอร์คอน แซต Z46 แอนตี้แวร์

 


   ZIRCON Z68 ANTI-WEAR
   น้ำมันไฮดรอลิค Duckhams
   เซอร์คอน แซต Z68 แอนตี้แวร์

 


   ZIRCON Z100 ANTI-WEAR
   น้ำมันไฮดรอลิค Duckhams
   เซอร์คอน แซต Z100 แอนตี้แวร์

 


   HYDROLUBE TORQUE 7884
   น้ำมันไฮดรอลิค Duckhams
   ไฮโดรลูป ทอร์ค 7884

 


   SUPER TF 7884
   น้ำมันไฮดรอลิค Duckhams
   ซุปเปอร์ ทีเอฟ 7884

 

ย้อนกลับ


ติดต่อสอบถามได้ทุกช่องทาง

enlightened Website   enlightened Facebook   enlightened Youtube   enlightened Instagram
enlightened Tiktok   enlightened โทร.(ฝ่ายขาย) enlightened โทร.(การตลาด) enlightened โทร.(บัญชี) 
enlightened LINE​ OA   enlightened ที่ตั้งสำนักงาน  enlightened ตัวแทนจำหน่าย

<< น้ำมันเบรคจำเป็นไหม เปลี่ยนน้ำมันเบรคทั้งทีควรเลือกยังไงดี ดั๊กแฮมส์ | Duckhams

บทความ ที่เกี่ยวข้อง

oliver-white-joins-smalley-in-expanded-duckhams-yuasa-racing-with-redline-line-up

OLIVER WHITE JOINS SMALLEY IN EXPANDED DUCKHAMS / YUASA RACING WITH REDLINE LINE-UP.

Duckhams Yuasa Racing with Redline is delighted to finalise its 2022 line-up as multiple race and title winner Oliver White joins the team.
อ่านเพิ่มเติม
carrera-cup-championship-leader-cammish-takes-record-breaking-third-crown
STORIES

CARRERA CUP CHAMPIONSHIP LEADER CAMMISH TAKES RECORD-BREAKING THIRD CROWN.

Racing driver Dan Cammish made history at Brands Hatch by becoming the first driver in the series’ history to take three overall championship titles.
อ่านเพิ่มเติม