|| Duckhams || น้ำมันเครื่องเบนซิน || น้ำมันเครื่องดีเซล || น้ำมันเครื่องมอเตอร์ไซค์ || น้ำมันเกียร์ || น้ำมันเบรค || น้ำมันไฮดรอลิค || น้ำยาหล่อเย็น || ตัวแทนจำหน่าย
Duckhams สูตรไหนเหมาะกับอะไรบ้าง << คลิ๊ก
สาระควรรู้โดยน้ำมันเครื่อง Duckhams
- น้ำยาหม้อน้ำ น้ำยาหล่อเย็น คูลแลนท์แตกต่างกันไหม แล้วสำคัญยังไง ?
- วิธีเติมน้ำยาหล่อเย็นมอเตอร์ไซค์หรือรถยนต์ เติมเองได้ไหม อันตรายไหม ?
- วิธีเลือกซื้อน้ำยาหล่อเย็น ยี่ห้อไหนดี ซื้อที่ไหน ?
- ร้านขายน้ำยาหล่อเย็นใกล้บ้านดีไหม ?
- เปลี่ยนน้ำยาหล่อเย็นราคาเท่าไหร่ ควรเปลี่ยนเมื่อไหร่ ช่วงไหนดี ?
- น้ำยาหม้อน้ำสีเขียวกับสีชมพูต่างกันอย่างไร ?
โดยปกติเมื่อเริ่มสตาร์ทรถยนต์ ระบบต่างๆ ภายในเครื่องยนต์จะเริ่มทำงาน โดยเฉพาะในส่วนของเครื่องยนต์ซึ่งจะเกิดการจุดระเบิดในห้องเผาไหม้ทันที ชิ้นส่วนต่างๆ ภายในเครื่องยนต์จะเริ่มทำหน้าที่เพื่อขับเคลื่อนการทำงานของเครื่องยนต์ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเกิดความร้อนขึ้น ระบบหล่อเย็นนี่แหละที่จะทำหน้าที่คอยนำของเหลวเข้าสู่ระบบการหมุนเวียนไหลผ่านตามท่อต่าง ๆ ของเครื่องยนต์เพื่อนำพาความร้อนของเครื่องยนต์มาระบายในตะแกรงหน้ารถที่เราเรียกว่า "หม้อน้ำรถยนต์" และใช้ลมจากใบพัดที่ติดอยู่กับหม้อน้ำรถยนต์ช่วยเป่าระบายความร้อนออกไป แล้วน้ำก็จะหมุนเวียนกลับไปรับความร้อนชุดใหม่ออกมาระบายในตะแกรงหม้อน้ำอีกครั้งแบบนี้วนไปเรื่อยๆ เพื่อทำให้อุณหภูมิของเครื่องยนต์ไม่สูงเกินไป ทำให้การขับขี่รถยนต์เป็นไปได้อย่างต่อเนื่องเป็นปกติเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่
ดังนั้น "การเติมของเหลวลงในหม้อน้ำรถยนต์ให้ได้ระดับที่กำหนดไว้อยู่เสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญ" ที่ไม่ควรละเลย แต่การจะเติมของเหลวอะไรซักอย่างลงในหม้อน้ำรถยนต์จึงมีคำถามมากมายว่า น้ำยาหล่อเย็น น้ำยาหม้อน้ำ คูลแลนท์ ใช้งานแตกต่างกันหรือไม่ ? รวมไปถึงการใช้น้ำเปล่าเติมเข้าไปในหม้อน้ำรถยนต์สามารถทำได้หรือไม่ ? เพราะโดยปกติการเติมของเหลวลงในหม้อน้ำรถยนต์โดยทั่วไปนั้นเรามักจะเคยชินกับการใช้น้ำเปล่าที่มีความสะอาดพอประมาณกันเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว
"น้ำเปล่า" เมื่อสัมผัสกับเครื่องยนต์ที่ร้อนจัดที่จุดเดือดประมาณ 100 องศาเซลเซียสจะเกิดการระเหยอย่างรวดเร็วจึงระบายความร้อนได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น
แต่ในส่วนของ "น้ำยาหล่อเย็น" นั้นจะมีส่วนประกอบหลักของสารหล่อเย็นประเภทเอทานอล (Ethylene glycol) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้น้ำมีจุดเดือดสูงขึ้น เพื่อให้น้ำที่อยู่ภายในหม้อน้ำเดือดช้าลงให้ทนความร้อนจากเครื่องยนต์ได้ดีกว่าและระบายความร้อนได้ดีกว่านั่นเอง ดังนั้นการเติมของเหลวลงในหม้อน้ำรถยนต์ควรเลือกน้ำยาหล่อเย็นซึ่งเป็นของเหลวสำหรับหม้อน้ำรถโดยเฉพาะ
น้ำยาหล่อเย็น (Radiator Coolant) เป็นผลิตภัณฑ์ทางเคมี ที่ใช้สำหรับระบายความร้อนในหม้อน้ำรถยนต์มีส่วนประกอบของสารต่างๆ ที่ผสมกันให้นำมาใช้สำหรับเติมหม้อน้ำรถยนต์โดยเฉพาะเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายความร้อนให้กับเครื่องยนต์ไม่ให้เกิดความร้อนสะสมสูงเกินมาตรฐาน นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติช่วยบำรุงรักษาหม้อน้ำรถยนต์ไม่ให้เกิดสนิม ป้องกันการกัดกร่อนและการอุดตันจากตะกอนทั้งหลายที่อาจส่งผลทำให้หม้อน้ำเสื่อมสภาพ รวมถึงช่วยหล่อลื่นชีลและปั้มน้ำอีกด้วย คนส่วนใหญ่มักจะเรียกน้ำยาหล่อเย็นในชื่อที่แตกต่างกันออกไป เช่น น้ำยาหม้อน้ำ น้ำยาเติมหม้อน้ำ คูลแลนท์ เป็นต้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันก็ถือความเข้าใจเดียวกันนั่นเอง
ประโยชน์ของน้ำยาหล่อเย็น
1. ช่วยเพิ่มจุดเดือดของน้ำที่อยู่ในระบบระบายความร้อนให้สูงมากขึ้น ส่งผลให้น้ำในระบบระบายความร้อนเดือดช้าลง ป้องกันเครื่องยนต์ร้อนจัดได้ (Over Heat )
2. ช่วยถ่ายเทความร้อนในระบบหล่อเย็นได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย ช่วยในการถ่ายเทและระบายความร้อนออกจากระบบหล่อเย็นได้ดี
3. ช่วยลดการสึกหรอและช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์
4. รักษาสภาพกรดด่างในหม้อน้ำ ช่วยไม่ให้เกิดตะกรันในหม้อน้ำ ลดปัญหาหม้อน้ำอุดตัน กับสนิมที่จะเกิดขึ้นในระบบหล่อเย็น
5. ช่วยปกป้องชิ้นส่วนในระบบหล่อเย็น ไม่กัดท่อยาง และชิ้นส่วนพลาสติกต่างๆในระบบหล่อเย็น
ไม่ทำให้เกิดการตกตะกอน เพราะตะกอนจะเป็นสาเหตุให้รังผึ้งหม้อน้ำอุดตัน และเป็นอันตรายต่อซีลปั๊มน้ำ
อย่างไรก็ตาม เราควรให้ความสำคัญกับการดูแล "ระบบระบายความร้อนภายในเครื่องยนต์" และมั่นตรวจสอบให้มากเป็นพิเศษ (เปิดขึ้นมาดูปริมาณน้ำยาหล่อเย็นเป็นประจำวันละครั้งเลยยิ่งดี) เพราะหากปล่อยประละเลยจนของเหลวในหม้อน้ำลดลงอยู่ในระดับที่อันตรายย่อมส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์ในระยะยาวนำไปสู่ปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากความร้อนของเครื่องยนต์ จนนำไปสู่การเสียเงินซ่อมในที่สุด
น้ำยาหล่อเย็น ถือเป็นผลิตภัณฑ์ทางเคมีย่อมมีความอันตราย หากจะเติมน้ำยาหล่อเย็นด้วยตัวเองก็สามารถทำได้ต้องใช้ความระมัดระวังในการเติม ควรมีอุปกรณ์ป้องกันในระดับหนึ่ง โดยมีวิธีการสรุปได้คร่าวๆ ดังนี้
1. ถ่ายน้ำในหม้อน้ำเดิมออกทางก๊อกใต้หม้อน้ำให้หมด แล้วล้างหม้อน้ำรถยนต์ด้วยน้ำยาล้างหม้อน้ำ เพื่อกัดสนิมและสิ่งสกปรกทิ้ง
2. เติมน้ำยาหล่อเย็นรถยนต์ หรือ คูลแลนท์ ในอัตราส่วนที่ระบุไว้ข้างขวด ซึ่งจะระบุไว้แตกต่างกันในแต่ละยี่ห้อ (เช่น อัตราส่วน 1:1 หรือ 1:3)
3. แล้วสลับไปเติมน้ำสะอาดหรือน้ำกลั่นเข้าไปเพื่อผสมให้ได้ระดับ(ภายในขีด MIN และ MAX) ให้เหมาะสมกับสัดส่วนที่ระบุไว้ข้างขวด (น้ำยาหล่อเย็นบางสูตรสามารถเติมเข้าไปได้เลยโดยไม่ต้องผสมน้ำช่วยให้สะดวกมากขึ้น)
การหัดเติมน้ำยาหล่อเย็นด้วยตัวเองก็จะช่วยประหยัดเวลาและประหยัดเงินในกระเป๋าของคุณได้ในระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม หากยังไม่มั่นใจว่าจะเติมเองได้หรือไม่ และเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้นก็สามารถนำรถยนต์ของท่านไปเข้ารับบริการยังอู่ซ่อมรถหรือศูนย์รถยนต์ใกล้บ้านได้เช่นกันครับ
ในปัจจุบันน้ำยาหล่อเย็นมักจะมีวางขายทั่วไปตามท้องตลาดมีมากมายหลากหลายยี่ห้อ เช่น น้ำยาหล่อเย็น ปตท., น้ำยาหล่อเย็นคาสตรอล, น้ำยาหล่อเย็น Valvoline, น้ำยาหล่อเย็น Peak, น้ำยาหล่อเย็น Pery, น้ำยาหล่อเย็น Pulzar, น้ำยาหล่อเย็น Sped, น้ำยาหล่อเย็น Quick โดยจะวางจำหน่ายในชื่อที่แตกต่างกันออกไปบ้าง ไม่ว่าจะเป็น น้ำยาหม้อน้ำ น้ำยาหล่อเย็น น้ำยาเติมหม้อน้ำ คูลแลนท์
นอกจากประเด็นเรื่องของคุณภาพและราคาแล้ว ในแต่ละยี่ห้อยังมีการแบ่งเป็นน้ำยาหล่อเย็นแบบพร้อมเติมทันทีโดยไม่ต้องผสมน้ำ และน้ำยาหล่อเย็นแบบเข้มข้นต้องผสมน้ำเพื่อให้เจือจาง แยกต่างหากออกไปอีกที ดังนั้นเราจะมาแนะนำวิธีในการเลือกซื้อน้ำยาหล่อเย็น มีให้เลือกใช้งานอยู่ 2 ประเภท ได้แก่
1. น้ำยาหล่อเย็นแบบผสมเสร็จ เป็นแบบพร้อมใช้งานสามารถเติมเข้าไปได้ทันทีโดยไม่ต้องผสมน้ำก่อนใช้แต่อย่างใด เหมาะกับพกติดรถไว้เติมในกรณีฉุกเฉิน แต่ราคาอาจจะแพงกว่าน้ำยาหล่อเย็นแบบเข้มข้น
2. น้ำยาหล่อเย็นแบบเข้มข้น เป็นแบบที่ต้องผสมน้ำในอัตราส่วนที่ถูกเหมาะสม ซึ่งมีระบุไว้ข้างบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้น้ำยาเจือจางก่อนใส่ลงในหม้อน้ำ เหมาะกับสายประหยัดที่ต้องการความคุ้มค่าเพราะในหนึ่งขวดสามารถผสมน้ำได้หลายครั้ง แต่ควรผสมให้ถูกต้องไม่ให้เข้มเกินไปเพื่อป้องกันปัญหาน้ำยาไปกัดกร่อนหม้อน้ำ
น้ำยาหล่อเย็น จะมีราคาประมาณ 200-400 บาท ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ มีวางจำหน่ายตามร้านค้าทั่วไป, อู่ซ่อมรถยนต์, ห้างสรรพสินค้า, รวมถึงศูนย์จำหน่ายทั่วประเทศ เราสามารถเลือกยี่ห้อเดียวกับที่ศูนย์ใช้ก็ได้หรือจะเลือกตามยี่ห้อที่ต้องการก็ได้เช่นกัน
ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับทางผู้ใช้แล้วว่าพฤติกรรมการใช้รถยนต์ของแต่ละท่านเหมาะกับการใช้น้ำยาหล่อเย็นรูปแบบไหน ซึ่งทั้งสองประเภทนี้ให้ประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน
ย้อนกลับ
หลายคนเมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว เริ่มรู้สึกอยากเปลี่ยนน้ำยาหล่อเย็นให้เป็นไปตามแนวทางที่เหมาะสม แต่อาจเกิดคำถามขึ้นมาว่า "แล้วเราควรเปลี่ยน น้ำยาหล่อเย็นเมื่อไหร่ ?" ตรงนี้ขอตอบแบบภาพรวมว่าขึ้นอยู่กับว่าเครื่องยนต์ของคุณใช้งานน้ำยาหล่อเย็นไปมากแค่ไหนแต่พอจะเฉลี่ยช่วงระยะเวลาได้พอสังเขป ดังนี้
1. โดยทั่วไปส่วนใหญ่แล้วน้ำยาหล่อเย็นจะมีอายุประมาณ 2 ปี แต่หากสังเกตว่าเริ่มมีตะกอนในหม้อพักน้ำก็ควรหาซื้อน้ำยาหล่อเย็นมาเปลี่ยน
2. หากพบว่าน้ำยาต่ำกว่าขีด MIN ก็เท่ากับเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าควรหาซื้อน้ำยาหล่อเย็นมาเติมได้แล้ว
3. หรือหากเราเพิ่งเติมน้ำยาหล่อเย็นไปแล้ว ระยะการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาหล่อเย็นก็จะขึ้นอยู่กับรถยนต์แต่ละรุ่นหรือประเภทน้ำยาหล่อเย็นที่ใช้ เช่น บางรุ่นกำหนดช่วงเวลาการเปลี่ยนน้ำยาหล่อเย็นไว้ทุก ๆ 2 ปี หรือ 40,000 กิโลเมตร และแต่บางรุ่นกำหนดช่วงเวลาการเปลี่ยนน้ำยาหล่อเย็นไว้ที่ 100,000 – 200,000 กิโลเมตร เป็นต้น
4. หรือบางคนอาจพิจารณาจากพฤติกรรมการใช้รถจริงๆ ของตัวเองแล้วกำหนดระยะเวลาการเปลี่ยนประมาณ ปีละ 1 ครั้ง หรือ 35,000 กม. ก็ได้
อย่างไรก็ตาม เราควรเติมน้ำยาหล่อเย็นในขณะที่เครื่องยนต์เย็นแล้วเท่านั้น โดยรถที่ขับมาจอดใหม่ๆ ควรจอดทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมงให้เครื่องยนต์เย็นลงก่อนแล้วจึงทำการเปลี่ยนน้ำยาหล่อเย็นหม้อน้ำด้วยวิธีการที่ถูกต้องต่อไป
น้ำยาหล่อเย็นที่เห็นมีสีต่างๆ เช่น สีชมพู เขียว ที่สร้างความสับสนให้กับผู้ใช้เป็นอย่างมากนั้น บางยี่ห้ออาจแบ่งสีเพื่อเป็นตัวบ่งบอกถึงสารเคมีต่างชนิดกันที่ผสมเข้าไปในแต่ละสูตร แต่ในบางยี่ห้อก็ไม่ได้ใช้ในการบ่งบอกถึงสารเคมีที่ผสมอยู่แต่อย่างใด เบื้องต้นแนะนำให้อ่านฉลากของน้ำยา Coolant ทุกครั้งเพื่อทำความเข้าใจก่อนนำมาใช้กับหม้อน้ำรภยนต์เป็นหลัก
SUPER COOLANT PINK
น้ำยาหล่อเย็น Duckhams
ซุปเปอร์ คูลแลนท์ พิงค์
SUPER COOLANT GREEN
น้ำยาหล่อเย็น Duckhams
ซุปเปอร์ คูลแลนท์ กรีน
ติดต่อสอบถามได้ทุกช่องทาง
Website Facebook Youtube Instagram
Tiktok โทร.(ฝ่ายขาย) โทร.(การตลาด) โทร.(บัญชี)
LINE OA ที่ตั้งสำนักงาน ตัวแทนจำหน่าย